วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การโมดิฟายรถ DRAG อย่างเซียน

การแต่งรถสำหรับแข่นขัน Drag Bike นั้นผู้ที่จะทำการตกแต่งโมดิฟายนั้นต้องมีความเชี่ยวชาญ แต่ส่วนใหญ่แล้วนักแต่งมือใหม่มักประสบปัญหาเรื่องของการขาดความรู้ในเรื่องของการความรู้ในเรื่องกลไกต่าง ๆ จึงทำให้ได้รถที่ไม่สมบูรณ์ออกมา ดังนั้นก่อนที่เราจะเริ่มก็ควรที่หาข้อมูลและไตร่ตรองให้ละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไนลงไป สำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะนั้น การโมดิฟายในส่วนใหญ่ ๆ ที่สำคัญคือ

ปาดฝาสูบ เพื่อเพิ่มกำลังอัดให้กับห้องเผาไหม้ เริ่มจากการวัด ซีซี. ได้ตามจำนวนที่ต้องการ หลังจากมาร์คเสร็จก็ใช้วิธีคลึงกับกระดาษทราย เบอร์ 400 วางบนแผ่นกระจกให้เรียบแล้วคลึงวนซ้ายวนขวาจนได้ขนาดตามที่ต้องการ เสร็จแล้วใช้กระดาษทรายละเอียดขัดให้ขึ้นเงาเรียบลื่นล้างด้วยน้ำมันเบนซิน ทาน้ำมันหล่อลื่นแล้วพักไว้

จูนคาร์บูเรเตอร์ เพื่อให้สัมพันธ์กับการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผสมกับอากาศกลายเป็นไอดี ส่วนมากนิยมใช้คาร์บูฯ เหลี่ยมขนาด 34 มม. เช่นของ KX125 และ RS125 เนื่องจากหาได้ง่าย มขนาดพอดีกับความต้องการของเครื่องยนต์ การไล่นมหนูจะต้อง สัมพันธ์กัน นมหนูน้ำมัน นมหนูอากาศก็ต้องเล็กลง เพื่อให้ส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศให้ลงตัวในการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ที่สุด จึงต้องไล่ ทีละเบอร์ดีที่สุด

ขยายเสื้อสูบ โดยการคว้านเสื้อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและดัดแปลงใส่ลูกสูบของรถที่มีซีซี. มากกว่าก็เป็นการเพิ่มความแรงของเครื่องยนต์ได้ ช่องพอร์ทต่างๆ นั้น นิยมขยายออกแล้ววัดรวมกันให้ได้ตามระยะที่กำหนดหรือจะใช้วิธีแยงออกเท่า ๆ กันทั้งสองด้าน เช่นด้านละ 1.5 หรือ 2 มม. เป็นต้น การวัดจะวัดลงมาจากขอบเสื้อสูบด้านบน (ด้านที่ติดกับฝาสูบ) วัดลงมาให้ได้ตามระยะที่กำหนดเสร็จแล้ว ขัดล้างให้สะอาดด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียดสุด ตามด้วยน้ำมันเบนซิน ระวังอย่าให้เศษฝุ่นหลงเหลืออยู่เป็นอันใช้ได้

ลูกสูบ ตามกติกาโอเพ่นจะเปิดให้ยัดลูกโตได้โดยไม่มีกำหนดแต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ลูกเดิมคว้านเสื้อสูบโอเวอร์ไซด์เป็นขนาดใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนลูกสูบใหม่เข้าแทนขนาดเดิม

ปาดเกียร์ การปาดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหนาของเฟืองเกียร์ จะอยู่ที่ประมาณ 0.2 ซม. จะทำให้หน้าสัมผัสของเฟืองเกียร์ย่นระยะการสัมผัสทำให้มีความเร็ว และสะดวกขึ้นน้ำหนักของเฟืองเกียร์จะน้อยลงทำให้การหมุนของเพลาราวคลัทซ์เกิดความคล่องตัว ลดกำลังฉุดของเครื่องยนต์

ปาดคลัทซ์ จะเป็นการการปาดฟันเฟืองคลัทซ์ เพื่อให้มีพื้นผิวในการแตะกับฟันเฟืองขับให้มีหน้าสัมผัสน้อย และเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานรวมทั้งยังช่วยลดน้ำหนักภายในเครื่องยนต์ การปาดนั้นจะปาดออกประมาณ 1 มม. จะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ตามความต้องการ แต่ถ้าปาดมากความแข็งของเฟืองก็จะน้อยลงเนื่องจากบางมาก

เปลี่ยนสปริงคลัทซ์ เพื่อให้คลัทซ์มีความคล่องตัวและรวดเร็ดเมื่อปล่อยคลัทซ์จึงมีการดัดแปลงสปริงให้ดีดตัวได้รวดเร็วขึ้น เพื่อเวลาเปลี่ยนเกียร์จะได้เกิดความรวดเร็วและลดกำลังเครื่องฟรีทิ้ง ส่วนใหญ่จะใช้สปริงเดิมที่ติดมากับรถแข่ง Motocross หรือการดัดแปลงของเดิมด้วยการเจียร์แท่นยึดน็อตสปริงคลัทซ์ออก

เจาะเฟรม การเจาะเฟรมนั้นจะใช้สว่านเจาะเหล็กขนาด 3-4 หุน ทำการเจาะเข้าไปที่ตัวเฟรมซึ่งมีความแข็งแกร่งจากนั้นจะใช้สว่านดอกจำปา ตามขนาดที่ต้องการเจาะเข้าไปอีกทีส่วนขนาดก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ หลังจากเจาะก็จะตกแต่งด้วยการะดาษทรายหรือตะไบและทำสีทับ

โช้คอัพหน้า ใช้ของเดิมตัดสั้นเปลี่ยนสปริง อัดน้ำมันใหม่ จัดตำแหน่งแฮนด์ให้อยู่ในท่าหมอบน้ำหนักจะถูกกดลงที่กระบอกโช้คหน้าของฮอนด้าโนว่า เนื่องจากมีน้ำหนักเบาหาง่ายและไม่แพง

โช้คอัพหลัง มักใช้ของเดิมตัดสปริงออกให้สั้นกว่าเดิมและอัดน้ำมันใหม่

วงล้อ วงล้ออลูมิเนียมที่นิยมใช้จะมี DID กับ AKRONT ด้านหน้าจะอยู่ 17 ด้านหลัง 17

ระบบเบรก เบรกหน้าใช้ชุดดิสก์เบรกของเทน่า หรือลีโอเจียรให้บางลงเพื่อความสวยงามพร้อมเจาะรูลดน้ำหนักลดแรงเสียดทาน ส่วนเบรกหลังนิยมใช้ดรัมเบรก

สเตอร์ มีความจำเป็นไม่แพ้กัน ด้านหน้าควรจะอยู่ที่ 14-15 ฟัน ส่วนด้านหลังจะอยู่ราว 37-45 ฟัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของคนขี่ด้วย สเตอร์ควรเป็นอลูมิเนียมหรือไทเทเนียมจะเบาและแข็งแรง

โซ่ ขนาด 415 , 420 ข้อบาง จะเป็นขนาดที่พอดีกับการแต่งแบบเดร็คไบค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น